ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อภิชาติ ดำดี

ดร.อภิชาติ ดำดี (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503) เป็นนักพูด นักจัดรายการชาวไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกระบี่

ดร.อภิชาติ ดำดี เป็นชาวจังหวัดกระบี่ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2503 เวลาเช้าตรู่ ตรงกับวันมาฆบูชาของปีนั้นพอดี เป็นบุตรคนที่ 4 ของอาจารย์ดวลและอาจารย์วรรโณ ดำดี ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน จากครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่เป็นข้าราชการครู คุณแม่ได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ส่วนคุณพ่อยังมีชีวิตอยู่ เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดกระบี่ ที่ขณะนี้ทำหน้าที่ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่และประธานสภาวัฒนธรรมภาคใต้ พี่น้องส่วนใหญ่ในครอบครัวประกอบอาชีพครูและแพทย์ ครอบครัว “ดำดี” ปลูกฝังให้สมาชิกในครอบครัวดำเนินชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่าย เห็นคุณค่าของการทำงาน มีเหตุผลและอิสระทางความคิด ให้ความสำคัญกับการศึกษาและการทำประโยชน์ให้สังคม ครอบครัว “ดำดี” ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็น “ครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่าง” เมื่อปี 2550.

ดร.อภิชาติ ดำดี เรียนหนังสือชั้นประถมที่โรงเรียนอิศรานุสรณ์และโรงเรียนโภคาพาณิชย์นุกูลที่จังหวัดกระบี่ จากนั้นเข้ามาศึกษาต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2516 จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี 2527 ระดับปริญญาโทด้านการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เมื่อปี 2548 ด้วยผลการเรียนขั้นเกียรตินิยม นอกจากนั้นยังได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงจากหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้าพร้อมรางวัลโล่พระราชทาน “เอกสารวิชาการส่วนบุคคลดีเด่น” เรื่อง “หลักพระพุทธศาสนากับการส่งเสริมวิถีชีวิตประชาธิปไตย" เมื่อปี 2548 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านการพัฒนาและการปฏิรูปองค์การ (DODT : Doctor of Organization Development and Transformation) จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ซีบู (Cebu Doctors’ University) ฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2552 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีอีกสาขาหนึ่ง คือ นิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อปี 2554

ขณะเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ ดร.อภิชาติ ดำดีได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเยาวชนประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ เรือเยาวชนอาเซียน (ASEAN YOUTH SHIP PROGRAM) การเข้าร่วมโครงการระดับนานาชาติครั้งนี้ทำให้ดร.อภิชาติมีมุมมองที่เข้าถึงความเป็นไทย และเข้าใจความเป็นสากล จนปัจจุบันนี้ ดร.อภิชาติ ดำดี มีโอกาสได้ศึกษาดูงานต่างประเทศมาแล้ว ทั้งกลุ่มประเทศอาเซียน ญี่ปุ่น เยอรมัน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ศรีลังกา กัมพูชา อิตาลี ไต้หวัน ฯลฯ

ตลอดช่วงชีวิตมหาวิทยาลัย ดร.อภิชาติ ดำดี เป็นนักกิจกรรม รุ่นเดียวกับ สุรพล นิติไกรพจน์, สมคิด เลิศไพฑูรย์, วสันต์ ภัยหลีกลี้, วิฑูรย์ นามบุตร, นพดล ปัทมะ, อัญชลี วานิช เทพบุตร และบุญสม อัครธรรมกุล และมีส่วนร่วมในงานสังคมหลายด้าน จึงได้รับ “เหรียญนักศึกษาผู้ทำชื่อเสียงดีเด่น” และเมื่อจบการศึกษาไปแล้วก็ได้รับ “โล่ศิษย์เก่าผู้ทำคุณประโยชน์” จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นหนึ่งในศิษย์เก่าที่ได้รับเกียรติบัตร “ศิษย์เก่าดีเด่น” เนื่องในโอกาสมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบ 70 ปี

ดร.อภิชาติ ดำดี เป็นหนึ่งในนักพูดระดับแนวหน้าของเมืองไทย ด้วยบุคลิกที่มีอารมณ์ขัน เป็นกันเอง มีวิธีการสื่อสารที่สนุกสนาน เข้าใจง่ายและเข้าถึงชาวบ้าน ทำให้การพูด การบรรยายมีเสน่ห์ชวนติดตาม เอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นคือการผสมผสานทักษะทางภาษา,ศิลปวัฒธรรมและภูมิปัญญาไทยเข้ากับการนำเสนออย่างกลมกลืน ความเป็นนักพูดขวัญใจชาวบ้านนั้นประจักษ์ได้จากการที่ผู้ชมรายการโทรทัศน์ได้ร่วมกันลงคะแนนให้เป็นนักพูดยอดนิยม ได้รับรางวัลเข็มกลัดทองคำฝังเพชร “นักพูดดีเด่น” จากรายการ “ทีวี-วาที 9 ใหม่” ของคุณกรรณิกา ธรรมเกษร

นอกจากความสามารถทางด้าน “วาทศิลป์” แล้ว ดร.อภิชาติ ดำดี ยังเป็นนัก “วรรณศิลป์” ที่มีผลงานการประพันธ์หลายรูปแบบ ทั้งบทกวี, เรื่องสั้น, คำขวัญ,บทละคร, บทเพลง, บทเพลงพื้นบ้าน, บทความ ฯลฯ

ในช่วงชีวิตนักศึกษา ดร.อภิชาติ ดำดี ได้สร้างสรรค์ผลงานด้านวรรณศิลป์ไว้มากมาย เป็นเจ้าของนามปากกา “ดินสอโดม” ได้รับรางวัลจากการประกวดงานเขียนอาทิ

ดร.อภิชาติ ดำดี เข้าสู่วงการโทรทัศน์ เมื่อปี 2526 โดยเริ่มต้นจากการเป็นวิทยากรรับเชิญในรายการเวที-วาที ช่อง 5 ของคุณกรรณิกา ธรรมเกษร จากนั้นได้มีโอกาสเป็นผู้พากย์, เป็นพิธีกรและเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์หลายรายการ อาทิ

รายการโทรทัศน์และวิทยุที่ดร.อภิชาติ ดำดีเป็นผู้ดำเนินรายการหรือเป็นผู้ผลิตนั้น ส่วนใหญ่เป็นสาระบันเทิงที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความรู้สู่ชุมชน ทั้งในด้านการเกษตร, การแนะนำอาชีพ, ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย, การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและองค์กรชุมชน ตลอดจนการเผยแพร่แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติต่างๆ รายการโทรทัศน์ที่ทำให้ดร.อภิชาติ ดำดี มีภาพลักษณ์ของนักส่งเสริมการเกษตรอย่างเด่นชัด เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยาวนานในกลุ่มเป้าหมายระดับชาวบ้านคือรายการ “ผู้ใหญ่บ้านดำดี” ช่อง 9 อสมท.

ดร.อภิชาติ ดำดี มีความสนใจทางการเมืองมาตั้งแต่วัยเรียน เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองมาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อเนื่องถึงช่วงที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเพียง 2 ปี ดร.อภิชาติ ดำดี ก็ได้เริ่มต้นทำงานการเมือง โดยได้รับการคัดสรรจากพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2529 และการเลือกตั้งซ่อม ปี 2530 แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง

ต่อมาเมื่อปี 2549 ดร.อภิชาติ ดำดี ได้ตัดสินใจกลับมาทำงานการเมืองอีกวาระหนึ่ง โดยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ที่จังหวัดกระบี่บ้านเกิด และครั้งนี้ก็ได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกระบี่ แต่ยังไม่ทันได้ปฏิบัติหน้าที่ก็เกิดการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 จากนั้นมาในปี 2550 ดร.อภิชาติ ดำดีได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 การทำหน้าที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ดร.อภิชาติ ดำดี ได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 หลายเรื่อง กล่าวคือ

การนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาประเทศและการบริหารราชการแผ่นดิน ดังบัญญัติไว้ในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมาตรา 83 และมาตรา 78, การรักษา พัฒนาและให้ความคุ้มครองที่ต้องครอบคลุมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทยในมาตรา 86 รวมทั้งการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะในมาตรา 47 และการเร่งรัดให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ภายใน 180 วันนับแต่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในบทเฉพาะกาลมาตรา 305

นอกจากการทำหน้าที่อภิปราย, แปรญัตติ, ร่วมงานในคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ ของสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ดร.อภิชาติ ดำดี ได้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จังหวัดกระบี่ ร่วมกับบุคลากรในพื้นที่ดำเนินการจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นประชาชนจังหวัดกระบี่ เพื่อนำเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการจัดกิจกรรม, การจัดทำสื่อเผยแพร่เนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนลงประชามติทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ผลการลงประชามติในจังหวัดกระบี่จึงปรากฏว่ามีประชาชนเห็นชอบกับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์

จากการทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ในปี 2550 ดร.อภิชาติ ดำดี ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 4 “จตุตถดิเรกคุณาภรณ์”

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 นายอภิชาติ ดำดี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกระบี่ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 58 คน เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

อภิชาติ ดำดี เข้าปฏิญาณตนปฏิบัติหน้าที่สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 และได้ทำหน้าที่โฆษกคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการปปช. ตั้งแต่วันแรกของการเข้าทำงานที่วุฒิสภา ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม วุฒิสภาได้มีการประชุมเพื่อลงมติเลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 อภิชาติ ดำดี เป็นหนึ่งในแกนนำสมาชิกวุฒิสภาจากภาคใต้ที่ช่วยกันสนับสนุนเลือก สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ในขณะนั้นให้เป็นประธานวุฒิสภา และสนับสนุนให้ พีระศักดิ์ พอจิต สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2

นอกจากจะเป็นผู้ประกอบการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสื่อสารมวลชนแล้ว ดร.อภิชาติ ดำดี ยังทำหน้าที่เป็นวิทยากรและผู้บรรยายรับเชิญในหัวข้อต่างๆ ให้กับสถาบันการศึกษา, สถาบันฝึกอบรมมัลติสมาร์ท (www.multi-smart.com), หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาและกรรมการองค์กรทางสังคมอีกหลายองค์กร


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301